Street Photo Thailand HOME PHOTOGRAPHERS LEGENDS NEWS ARTICLES FEATURED PROJECTS SUBMISSION SPTEP ABOUT CONTACT
Piyatat Hemmatat
Apasmara (2010)
CUT THRU. A View on 21st Century Thai Art
A New identity for 21st Century Thai artist
 

Artist Piyatat Hemmatat (b. 1976), too, addresses consumerism in Thai society, taking the stance of a bewildered spectator in his photographic series Apasmara. Shot at the end of the riots that devastated Bangkok in May 2010,the artist’s attention goes to the futility of branded goods, emblems of a society that has become to all materialistic. The emptiness conveyed in the shop display windows that are riddled with the bullets echoes the etymology of Apasmara, that is ,in Sankrit a Hindu dwarf that represents ignorance. Are we not all ignorant whilst striving for fashion items devoid of any value?

Loredana Pazzini-Paracciani 
Singapore, 2011



CUT THRU A New identity for 21st Century Thai artist. Singapore: Institute of Comtemporary Art Singapore, 2011


*  *  *  *  *



Apasmara

The series Apasmara refer to a figure of Hindu mythology: a dwarf-like demon representing ignorance. Apasmara tried to hinder human being from the spiritual path by tempting them with earthly pleasures. In Hindu, the word “apasmara” means mindlessness, and symbolizes the obliviousness that causes human to lose consciousness, and to strive after material things.

In Hemmatat’s photographs, we recognize the logos of well-known and powerful brand and fashion houses. But in contrast to hoe design houses such as Dior, Prada and Gucci express wealth and glamour, we now glimpse at their insignia from behind windowpanes covered with bullet holes, and the famous names lose their significance. 

The photographs were captured after months of riots and ‘Red Shirt’ demonstrations in Bangkok, which ended in April 2010. The people that rebelled against the country’s government and the wealthy elite can be seen in Hemmatat’s Photographs as protest against materialism and capitalism. Here, the symbols of purchasing power and capitalism have been destroyed, and the modern consumer society’s negative effects upon the individual become clear to us. With the photographs documenting the course and results of the events in Thailand, Hemmatat wishes to display the proof of universal human phenomenon, the infinite need and greed in all of us – the demon of ignorance exist. 

Sophie Grave
Dong Xi Gallery
Norway, 2011 



*  *  *  *  *


แฟชั่นในความทรงจำ 

อรรฆย์ ฟองสมุทร
ในนิทรรศการ Rupture – Cause & Effect หรือชื่อภาษาไทยว่า หมายเหตุ ๕/๒๕๕๓ บันทึกความทรงจำต่อเหตุการณ์ 19 พฤษภา ซึ่งจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และเพิ่งจบลงนั้น แม้จะเป็นการแสดงผลงานของกลุ่มศิลปิน 5 ได้แก่ ออลิวิเอร์ ผิน-แฝ็ท,อันเยส เดร์เบยส์, วูฟกัง เบลล์วินเคล,มานิต ศรีมานิชภูมิ และปิยทัต เหมทัต ซึ่งเป็นการนำเสนอภาพถ่ายในลักษณะรวมที่อาจจะเรียกรวมๆได้ว่าเป็นภาพถ่ายข่าว หรือ photo journalism เนื่องจากภาพเหตุการณ์และขนบในภาพถ่าย ตลอดจนเรื่องราวและการนำเสนอดำเนินไปในขนบดังกล่าว แต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่งที่ศิลปะภาพถ่ายได้มีโอกาสเปิดมุมมองและแง่คิด ซึ่งไม่บ่อยครั้งนักที่ภาพถ่ายจะได้ทำหน้าที่นี้ 

เหตุการณ์อัปยศที่ไม่มีหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรหรือวาจาอะไรที่ยืนยันความจริงได้ นอกจากข้อมูลที่โยนลงมาแก่ประชาชนที่เป็นผู้รับอย่างเราๆและสาดใส่กันระหว่างฝ่ายต่างๆเสียมากกว่า ช่างภาพทั้งหมดในนิทรรศการครั้งนี้จึงถ่ายทอดผลงานทั้งที่อยู่ในช่วงก่อน-ระหว่าง-หลังเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ช่างภาพคนไทยสองคนที่ร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ได้แก่ มานิต ศรีวานิชภูมิและปิยทัต เหมทัต เลือกนำเสนอผลงานที่เป็นช่วงหลังเหตุการณ์ ฉะนั้นการมีเวลาในการร่างและวางกรอบคิดก่อนการสร้างสรรค์จึงทำให้ผลงานที่นำเสนอแตกต่างออกไป ทั้งในภาพที่ปรากฏและความคิดที่ดำเนินไปเบื้องหลังภาพถ่ายที่เป็นผลงานของเขา

ภาพถ่ายที่บันทึกและสร้างสรรค์หลังเหตุการณ์นั้น แม้จะหลงเหลือเพียงร่องรอยที่เมื่อเทียบกับความน่าตื่นเต้นแล้วอาจจะดูประหนึ่งว่าบางเบา แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็สามารถที่จะพิจารณาได้ว่าเป็นการนำเสนอที่อาจจะที่ปราศจากอคติและความคิดที่เป็นฝักฝ่ายมากที่สุด การถ่ายทอดจึงเท่ากับเป็นการนำเสนอชุดความคิดที่ศิลปินทำการกรองมาแล้ว ซึ่งในนิทรรศการนนี้ ออริวิเอร์ ผิน-แฟ็ท, มานิต ศรีวานิชภูมิ และปิยทัต เหมทัต ดูจะเข้าข่ายกรอบแนวคิดที่ว่า และนั่นก็เป็นโอกาสที่นำเสนอตัวตนในอีกแง่มุมหนึ่งเช่นกัน

สำหรับปิยทัต เหมทัตหรือ โอ๋ ดูจะเป็นชื่อที่เนื้อหอมสำหรับวงการภาพถ่ายศิลปะ แต่ในความเป็นจริงแล้วชื่อของเขาหอมหวนมาก่อนจากวงการภาพถ่ายแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผลงานในนิทรรศการนี้ของเขาจะมีกลิ่นอายของเนื้อหาที่ผสมผสานระหว่างสังคมการเมืองและแฟชั่น ซึ่งภายใต้ความสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ ภาพถ่ายของโอ๋ถ่ายทอดภาพถ่ายเชิงประจักษ์ออกมาแตกต่างไปจากศิลปินชื่อดังชาวสวิสอย่างแดเนียล บูเอ็ตตี ที่แม้จะเป็นเรื่องราวที่เป็นบทสนทนาระหว่างภาพถ่ายแฟชั่นกับประเด็นทางสังคมการเมือง แต่ในกระบวนการดังกล่าวแดเนียลเลือกเอาภาพถ่ายที่เป็นการนำเอาการเมืองใส่ลงไป

ซึ่งทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายของเดเนียล บูเอ็ตตี หรือศิลปินต่างชาติในนิทรรศการ “หมายเหตุ ๕/๒๕๕๓” นี้ ไม่ว่าจะเป็นอันเยส เดร์เบยส์และวูฟกัง เบลล์วินเคล ก็ยากที่จะเดินออกจากจุดยืนทางสังคมที่เรียกได้เต็มปากว่าเป็นมุมมองที่ปราศจากอคติ ข้อเรียกร้อง หรือเล่ห์กลแอบแฝง

ในขณะที่ชุดผลงานของปิยทัต สะท้อนร่องรอยที่ผสมผสานระหว่างข้อเท็จจริงกับเรื่องราวที่เดินออกจากข้อเรียกร้อง ฝักฝ่าย และข้อเสนอหรือเงือไขไดๆ ไม่ว่าจะเป็นสมานฉันท์หรือปรองดอง มันแทบจะไม่เกี่ยวข้องใดๆกับการเมืองเลย แต่มันได้ถ่ายทอดผลลัพธ์ของการเมืองและความรุนแรงออกมาอย่างโจ๋งครึ่ม ที่ในบางอารมณ์ความรู้สึกกลับซ่อนนัยยะของมุมมองที่คนเรามีหลงเหลือต่อการบริโภคแบรนด์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดสัมพันธภาพทางสุนทรียภาพได้อย่างลงตัว

อรรฆย์ ฟองสมุทร
กรุงเทพ, ๒๕๕๔ 2011



นิตยสาร มาร์ ฉบับเดือนมกราคม 2011. กรุงเทพ ประเทศไทย


*  *  *  *  *


‘Rupture’ introduction 

Piyatat Hemmatat takes a visual step to the side and focuses intensely on an aspect of the crisis, a potent and resonant metaphor – on his own. By photographing in stark black and white, he pictures solely bullet-busted logos. Gucci, Prada, Dior, Celine and so on – these opulent fonts of consumerism – these logos of almost unreachable and impossibly distant and other-worldly material aspirations (to most in Thailand, and beyond). In his images these dreams of rabid consumption and material luxury have been cracked, bullet hole ridden, shattered into shards. Globalization as a reality and force, has been smashed by ‘internal affairs’. It’s a powerful and direct message that seems to emphasis how broken things really are a millimeter beneath the surface. 

Oliveier Pin-Fat, Curator
Bangkok, October 2010



Rupture. Bangkok Thailand: Konrad Adenauer Stiftung, 2010

 
 

© 2012 - 2024 Street Photo Thailand